ปลูกไผ่ :ชนิดของไผ่ และวิธีการปลูกไผ่ อีกทางเลือกเพื่อความยั่งยืน วิธีปลูกไผ่หวาน ปลูกไผ่กิมซุง ปลูกไผ่เลี้ยง

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลไม่ยุ่งยาก

"ไผ่กิมซุง" ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลไม่ยุ่งยาก

ในพื้นที่ไร่น่าสวนผสม 10 ไร่ ของคุณเสาร์แก้ว  ปลูกไผ่กิมซุง หรือบางคนเรียกไผ่ตงหวานเงินล้าน ปลูกตะไคร้ ปลูกชะอม ปลูกพริก ปลูกฟักทอง ปลูกข้าวไว้กิน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ชนเพื่อขาย
            แต่พืชที่ทำรายได้ให้กับคุณเสาร์แก้วมากที่สุดคือ ไผ่กิมซุง โดยจะตัดยอดให้สูงไม่เกิน 2.5 เมตร จะเริ่มเก็บผลผลิต ประมาณเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน จะหยุดในเดือนกรกฎาคม เพราะในช่วงนี้หน่อไม้ธรรมชาติจะเริ่มออกสู่ตลาด ราคาจะถูก ที่เริ่มให้ผลผลิตออกเดือนธันวาคมเป็นต้นไปนอกจากเรื่องนอกฤดูแล้ว ก็ดูผู้บริโภคด้วย คือในช่วงนั้นจะมีเทศกาลปีใหม่ไทย ปีใหม่จีน และปีใหม่เมืองลูกหลานหรือผู้ที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาเยี่ยมบ้าน อาหารทางภาคเหนือที่นิยมทำกินกัน ไม่ว่าจะเป็นแกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ หน่อต้มแกล้มน้ำพริกต่างๆ ทั้งน้ำพริกปู น้ำพริกอีเก๋ แม้แต่น้ำพริกกะปิ ก็ล้วนแกล้มได้ด้วยหน่อไม้ ถือว่าคุณเสาร์แก้วเป็นนักการตลาดชั้นยอดที่มองลู่ทางการตลาดได้อย่างทะลุ ปรุโปร่ง พืชที่ปลูกอย่างอื่นก็เป็นเครื่องแกง เครื่องเคียงสำหรับหน่อไม้ทั้งสิ้น
            ในเดือนกันยายนก็ตัดต้นเก่าทิ้งพร้อมกับตัดยอด สูงไม่เกิน 2.5 เมตร กอหนึ่งจะไว้ต้นประมาณ 4 ต้น
พักต้นไว้ประมาณ 1 เดือน จนถึงเดือนธันวาคม จึงเริ่มเก็บหน่อขาย ที่สวนนี้ไม่ได้ขายหน่อจากพื้นดินอย่างเดียว แต่ขายหน่ออากาศด้วย ขายเป็นหน่อทุบขาย ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท ราคาเดียวกับหน่อที่ออกทางพื้นดิน
            เทคนิคการทำให้หน่อขาว คุณเสาร์แก้วจะใช้แกลบดำใส่ถุงดำครอบไว้ เมื่อได้เวลาตัดหน่อจะขาวน่ากินเหมือนหน่อใต้ดิน หรือหน่อขุดเลยทีเดียว ในช่วงที่หน่อให้ผลผลิตนั้นจะตัดได้เฉลี่ยวันละประมาณ 100 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 40 บาท เดือนหนึ่งก็คิดตัวเลขเอาเองแล้วกัน 6 หลักแน่นอน อันนี้เฉพาะค่าหน่อไม้ พืชอื่นที่ปลูกอีกไม่ว่าจะตะไคร้ที่สวนนี้เป็นแห่งแรกและสวนเดียวของอำเภอ ดอกคำใต้ที่ปลูกในปริมาณที่มากถึง 2 ไร่ ก็ทยอยขายเรื่อยๆ หลังตัดต้นตะไคร้เสร็จก็จะปลูกฟักทองตาม ขายยอด ขายลูกได้อีก
               ในการปลูกไผ่กิมซุง สิ่งสำคัญคือ น้ำ และที่สวนของคุณเสาร์แก้ว ต้องสูบน้ำเพื่อให้กับต้นไผ่ด้วยระบบสปริงเกลอร์ ก็ได้อาศัยฝีมือช่างที่ได้มีโอกาสไปทำงานต่างประเทศมาเข้าช่วยช่วงที่น้ำมัน แพง คุณเสาร์แก้วได้ไปอบรมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีวิชาการทำน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งคุณเสาร์แก้วสนใจเรียนรู้แล้วนำกลับมาทำที่สวน ทำให้ลดต้นทุนการผลิตในเรื่องค่าน้ำมันลง วันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 100 บาท
            คราวนี้ลองมาฟังข้อมูลทางวิชาการของไผ่กิมซุง ไผ่เงินล้าน จาก ท่านนิวัติ ชาติดี เกษตรอำเภอดอกคำใต้กัน ไผ่กิมซุง ถือเป็นพืชทางเลือกใหม่ สร้างรายได้ “จริง”
                ไผ่กิมซุง  ชื่อที่ยังไม่คุ้นหูแต่กลับสร้างรายได้อย่างมหาศาล บนผืนเศรษฐกิจทางการเกษตรไทย นับเป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไผ่กิมซุงเป็นพืชที่โตไว ให้ผลผลิตภายในอายุแค่ 7 เดือน หลังปลูก หน่อไม่มีขน ไม่มีหนาม ประหยัดแรงงานในการขัดขน ให้หน่อดก น้ำหนักเฉลี่ย 1.7-3.0 กิโลกรัม ต่อหน่อ มีเปลือกบาง เนื้อหนา น้ำหนักดี รสหวาน กรอบ กินอร่อย ไม่มีเสี้ยน และให้หน่อได้ตลอดทั้งปี
            ไผ่กิมซุง  สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เนื่องจากลำไผ่มีเนื้อหนา รูในกระบอกเล็ก ให้เนื้อไม้ปริมาณมาก น้ำหนักดี เนื้อหน่อแน่น เหมาะในการใช้ทำเยื่อกระดาษ สามารถนำไปเผาทำเป็นถ่าน ใช้ประโยชน์ด้านการดูดกลิ่น หรือนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมทำตะเกียบ ให้ผลผลิตที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น แม้ว่าเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศ แต่ก็เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทย
            ไผ่กิมซุง นั้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว วิธีการดูแลก็ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งพื้นที่เดิมของเราหากเป็นร่องสวนมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดทั้งปี เมื่อได้กิ่งพันธุ์มาแล้ว ก็นำมาปลูกในร่องสวน โดยปลูกห่างกันประมาณ 4-6 เมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ซึ่งการปลูกนั้นก็มีเทคนิค โดยจะต้องทำมุมของกิ่งพันธุ์ ประมาณ 45 องศา กับพื้นดิน เพราะว่าเมื่อกิ่งพันธุ์โตขึ้นจะได้ตั้งตรงไม่คดงอ จากนั้นจึงค่อยกลบดินให้แน่นเสมอกับหน้าดินเดิม แล้วใช้ไม้ปักยึดกับลำต้นของกิ่งพันธุ์เพื่อป้องกันต้นล้มเพราะกระแสลม
            ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มปลูกคือ ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงฤดูฝน พอลงกิ่งพันธุ์ปลูกได้ราว 6 เดือน กอไผ่จะเริ่มโต เราต้องแต่งกอโดยตัดลำต้นในกอให้เหลือลำตรงๆ เพียง 4-5 ลำต้น ลำต้นไหนที่ชิดกัน เราต้องตัดออก เพื่อเว้นที่ว่างให้กอแทงหน่อได้สะดวก ช่วงนี้เราต้องใส่ปุ๋ยคอกที่กอไผ่บ้าง จากนั้นราว 1 เดือน ไผ่ก็จะเริ่มแตกหน่อ โดยกอหนึ่งจะมีหน่อไม้ประมาณ 15-20 หน่อ น้ำหนักรวมประมาณ 30-50 กิโลกรัม ซึ่งช่วงที่ออกนี้จะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงนี้ราคาจะดีมาก เพราะผลิตนอกฤดู ราคาตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 35-45 บาท โดยตลาดใหญ่คือ ตลาดไท และโรงงานทำหน่อไม้กระป๋อง
Share:

จุดอ่อนของไผ่กิมซุ่ง

ถ้าพูดถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งของไผ่กิมซุ่ง(ไผ่ตงลืมแล้ง)และอีกหลายๆชื่อของ ไผ่ชนิดนี้ นั้นก็คือ หน่อดก รสชาติดี ไม่ขมมาก หน้าแล้งก็ออกหน่อ ทนน้ำท่วมขังได้นาน ถึง 3เดือน ฯลฯ แต่ใครจะรู้บ้างไหมว่า ไผ่กิมซุ่ง นี้ก็มีจุดอ่อนหรือจุดด้อย เหมือนกันกับไผ่ตงทั่วๆไป

เวลาที่เราไปซื้อกิ่งพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง เชื่อเหอะ ร้อยทั้งร้อย ผู้ขายมักจะต้องแนะนำและเชียร์สุดใจขาดดิ้น ไผ่กิมซุ่งนี้นะ ปลูกง่ายโตไว ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ อายุประมาณ 7เดือนเก็บหน่อขายได้ หน่อดก รสชาติหวาน ทำหน่อออกฤดูแล้งราคาดี ตลาดต้องการสูง แค่นี้ก็ตาลุกวาวแล้ว
ผมเองก็ยังต้องซื้อกิ่งพันธุ์ จำนวนหลายสิบกิ่ง ตามคำแนะ ตามคุณสมบัติที่โฆษณา จากผู้ขาย หลังจากที่ผมปลูกไผ่กิมซุ่งได้ ไม่ถึงเดือน กิ่งไผ่เริ่มมีอาการใบเหลือง และเปลี่ยนไปเป็นใบสีขาว ใบร่วงหล่น หลังจากนั้นผมก็ขุดกิ่งไผ่ขึ้นมาดู ก็พบว่า รากไผ่เน่า ซึ่งในตอนนั้นผมไม่รู้และไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง


ดินที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่ จริงๆแล้วเราสามารถปลูกไผ่ได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงดินที่มีน้ำท่วมถึง และขังเป็นเวลานาน พื้นที่มีการระบายน้ำไม่ดี โดยเฉพาะพื้นที่มีสภาพเป็นดินเหนียว ดังนั้นถ้าเราปลูกในสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ กอไผ่ก็ย่อมที่จะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ไผ่มีหน่อดกและขนาดใหญ่


เวลาผ่านไปปีกว่าๆ ผมได้เริ่มต้นการขยายกิ่งพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง จากไผ่ชุดแรกที่ซื้อมา เริ่มเรียนรู้ สังเกต และลงมือปฏิบัติจริง จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้น ถ้าเราจะขยายกิ่งพันธ์เพื่อปลูกบนพื้นที่ของตัวเอง ข้อแนะนำให้ขยายกิ่งพันธุ์โดยวิธีการปักชำกิ่ง ลักษณะกิ่งเป็นรูปตัววาย จะทำให้โตไว มีรากเยอะแตกหน่อเร็ว

สำหรับปุ๋ยที่จะใส่ให้ไผ่นั้น ถ้าเราสามารถหาปุ๋ยคอก ได้ยิ่งจะดีจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ทุกวันนี้ปุ๋ยคอกหายากแถมราคาขายเริ่มสูงขึ้น ดังนั้นการผลิตปุ๋ยที่สามารถทำขึ้นเองได้ก็จะเป็นการดี

ไผ่กิมซุ่งที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ปัญหาที่พบ สามารถแก้ไขได้ง่าย แต่ถ้าไผ่กิมซุ่งที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ปัญหาที่พบก็จะต้อง แก้ไขตามระยะเวลาของอายุไผ่ ถ้าไปแก้รวบยอดอาจจะแก้ยาก และจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เลยก็ได้ เพราะว่าไผ่กิมซุ่งเป็นไผ่ตระกูลของไผ่ตง ดังนั้นปัญหาจึงคล้ายๆกัน

โคนไผ่ลอย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย แต่หลายๆท่านที่ปลูกไผ่กิมซุ่งอาจจะไม่ให้ความสำคัญมากนัก หรือให้ความสำคัญแต่แก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง เรียกว่ายิ่งแก้ยิ่งเจอ แนวทางที่เหมาะสม นั้นก็คือให้ใช้ฟางหรือหญ้า คลุมที่โคนไผ่ อย่าใช้ดินหรือแกลบดำคลุม เพราะว่าการใช้ดินหรือแกลบดำคลุม จะทำให้บริเวณรอบกอไผ่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อเกิดหน่อใหม่ก็จะงอกลอยขึ้นไปอีก ซึ่งเสี่ยงต่อการล้มของกอไผ่หรือลำไผ่ เมื่อต้องเจอลมพัดแรงๆ

การตัดแต่งกอไผ่นี้ก็สำคัญเช่นกัน ควรเลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น และหน่อที่ไม่สมบูรณ์ โดยให้มีลำเพียง 3-4 ลำ/กอ สำหรับไผ่ที่ต้องการผลิตหน่อ และเมื่อหน่อที่เราต้องการไว้เป็นลำนั้นสูงประมาณ 3เมตร เราก็ควรจะตัดยอด เพื่อป้องกันลมพัด

นี้เป็นบางส่วนของปัญหาที่พบในการปลูกไผ่กิมซุ่ง ดังนั้นถ้าเราลงมือปลูกเอง ดูแลเอง เรียนรู้และศึกษาอย่างใกล้ชิดแล้ว ความรู้ที่เราจะได้นั้นมีค่ายิ่งนัก เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง แก้ปัญหาจริง จุดอ่อน จุดแข็ง ของไผ่กิมซุ่ง ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จในการปลูกไผ่กิมซุ่งเพื่อผลิตหน่อนั้นเอง...บทความ ที่น่าสนใจ...ไผ่คงลืมแล้ง...ไผ่ร้อยชื่อ
Share:

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิธีการตอนกิ่งไผ่

หัว ข้อนี้จัดทำเพื่อเป็นความรู้สำหรับสมาชิกที่ต้องการจะนำไปต่อยอด  หรือ ขยายพันธุ์ไผ่ของตัวเอง  หากสมาิชิกท่านใดเห็นว่ามีข้อบกพร่อง  ก็ช่วยๆ กันแนะนำเพิ่มเติมได้  ผมคิดเองคนเดียว  คงมีจุดบกพร่องเยอะเหมือนกัน

สำหรับวัสดุและอุปกรณ์ในการตอนกิ่งไผ่
1. ขุยมะพร้าว
2. ถุงพลาสติก ขนาด 3x5 หรือ ตามขนาดของกิ่งไผ่
3. เชือกฟาก หรือ ด้าย หรือ ตอก หรือ ตัวรัด (เหมือนในภาพ)
4. มีดพร้า หรือ ขวานเล็กๆ  สำหรับการผ่าตากิ่งไผ่

วิธีตอนกิ่งไผ่
1. นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ให้ชุ่ม หรือจะแช่ไว้สักคืนหนึ่งก็ได้นะครับ
2. นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติก (ดังภาพ) รัดปากให้แน่นด้วยหนังยางหรือเชือกฟาง
3. ใช้มีดผ่าครึ่งถุงพลาสติก เพื่อเปิดช่องไว้สำหรับทางกิ่งไผ่
4. ใช้มีดผ่ากิ่งไผ่  จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง  อย่าให้ขาดนะครับ  ให้เหลือเปลือกไผ่บางๆ ติดกับลำต้นไว้
5. นำถุงพลาสติกห่อขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้หุ้มกิ่งไผ่ส่วนโคนที่ถูกผ่าออก  แล้วมัดด้วยเชือกฟาง หรือ สายรัด ผูกแน่นติดกับลำไผ่
6. เมื่อรากของกิ่งไผ่ออกเต็มแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งลงมาเตรียมเพาะชำ  โดยให้เหลือปล้องไว้ 2-3 ปล้องครับ

เทคนิคการตอนกิ่งไผ่
1- หากต้องการให้รากของกิ่งไผ่ออกเร็วๆ เปลือกไผ่ส่วนที่ติดกับลำต้นไม้ควรให้เหลือมากเกินไป ควรเหลือไว้นิดเดียว
2- หากไม่ต้องการให้รากของไผ่ออกเร็ว  ก็ไม่ต้องทำตามแบบข้อ 1
เมื่อ เสร็จขั้นตอนแล้ว  ก็ใช้เชือกฟางมัดติดกับลำต้น  หรือลำไผ่ไว้ให้แน่น  อย่าให้หลุดก่อนนะ  เดี๋ยวจะฉีกหมด  ถ้ากิ่งไผ่ปักกิ่ง  ราคากิ่งละ 3,000 บาท  คุณสูญเงินไปแล้ว 3 พันบาท  อิอิ  เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน!!!~
ขอให้เป็นกิ่งที่เหมาะสม  ไม่ว่าจะอยู่สูง (อย่าสูงเกินไปเดี๋ยวตกบันไดตายซะก่อน) หรือ ต่ำแค่ไหน  ก็ตอนได้
เมื่อ ก่อนผมก็ไม่ทราบว่ากิ่งไผ่สามารถตอนได้  แต่จะขุดเอาจากต้นตอที่มีอายุประมาณ 1 ปี (คล้ายๆ ในภาพ) เสร็จแล้วก็จะไปขุดหลุมปลูกได้เลยในช่วงต้นฤดูฝน  เพราะอัตรารอดของการปลูกไผ่ช่วงฤดูฝนมีอัตรารอดที่สูงกว่าฤดูอื่นๆ  สำหรับภาคอีสานยังไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องเหล่านี้  คิดว่าความรู้นี้น่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจและสมาชิ กเว็บไซต์ของเรา
กิ่ง ไผ่ออกรากแล้ว  หากไม่เร่งรีบก็ปล่อยไว้ก่อนสัก 15-20 วัน  ให้รากออกยาวสักหน่อย  เสร็จแล้วให้ตัดลงมาชำในถุงดำ  โดยให้เหลือไว้ 3 ปล้องครับ
Share:

วิธีเพาะเมล็ดไผ่

วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)

 

การเพาะเมล็ด
    ไผ่เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ปกติไผ่จะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่จะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้

การเก็บเมล็ดพันธุ์
- เมล็ดไผ่เมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น
- รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์
- นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก
- นำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง

วิธีการเพาะกล้าไผ่
- เมล็ดไผ่ที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโตไม่สม่ำเสมอ
- นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน
- นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก
- นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนา ประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว
- ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

วิธีการเพาะเมล็ดไผ่บงหวาน


  เริ่มจากเก็บเมล็ดไผ่บงหวานที่แก่จัด เพาะในกะบะเพาะ โดยมีวัสดุเล็กละเอียด เก็บความชื้นได้ดี รดน้ำทุกวัน แต่อย่าให้แฉะ ราว 7-10 วัน เมล็ดจะ เริ่มงอก จากนั้น 3-4 สัปดาห์ ย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ รดน้ำ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นแข็งแรงและสามารถดูแลทั่วถึงก็นำลงปลูกได้ หรืออาจจะใช้เวลาเตรียมต้น 6-12 เดือน  จึงนำออกเผยแพร่ ทั้งนี้  ให้ แน่ใจว่านำไปปลูกลงแปลงแล้ว เปอร์เซ็นต์รอดมีมาก

Share:

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไผ่ไม้เศรษฐกิจเบอร์ 1

ไผ่เศรษฐกิจเบอร์ 1 ในดวงใจ

   ในประเทศไทยแม้จะมีไผ่หลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูกมากมาย แต่สำหรับไผ่ที่ควรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ  " แนะว่า ไผ่กิมซุ่ง "

   ไผ่กิมซุ่ง เป็นชื่อทางการค้าของไผ่ในสกุลแบมบูซ่า (Bambusa) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
แบมบูซ่า บีชียาน่า (Bambusa beecheyana)ซึ่งไผ่ชนิดนี้มีชื่อทางการค้าอีกหลายชื่อ คือไผ่ตงไต้หวัน ไผ่เขียวเขาสมิง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่ตงอินโด ไผ่ทองสยาม ฯ และเป็นไผ่ที่ดูแลง่าย


 การปลูกไผ่เป็นอาชีพสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากการใช้ 3 ช่องทางทำเงิน คือ ขายหน่อไม้ ขายต้นพันธุ์ขายลำไผ่ ด้วยระยะเวลาเพียง 18 เดือน


Share:

แนวทางเริ่มต้นการปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง

เริ่มต้นการปลูกไผ่บนเนื้อที่ 1 ไร่

 (เฉพาะไผ่บงหวาน 1-2 ไร่) 

  “ครอบครัวผมทำนามาเป็นสิบๆ ปีแล้ว แต่ผมอยากลองมองหาพืชอย่างอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีมาทำแทนข้าวบ้าง ซึ่งตอนนั้นผมยังทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ และเริ่มหาข้อมูลว่าพืชตัวไหนดี จนมาอ่านเจอบทความในนิตยสารเกษตรเล่มหนึ่งเขาบอกว่าไผ่ขาดแคลนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ผมก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องไผ่ จากนั้นก็เริ่มทดลองปลูกไผ่เพื่อขายหน่อในพื้นที่ 1 ไร่ก่อนค่อยๆเพิ่มจำนวนเป็น 2 ไร่ และที่เลือกปลูกไผ่ขายหน่อดูก่อนเพราะเป็นของที่คนกินตลอดน่าจะไปได้ดี”
  ซึ่งสำหรับไผ่ที่เลือกปลูกในสวนาช่วงแรก คือ ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่กิมซุง เพราะพิจารณาจากผลผลิตของหน่อที่ไผ่ 2 สายพันธุ์นี้สามารถทำหน่อนอกฤดูได้ดีโดยปลูกไผ่บงหวาน 80% และไผ่กิมซุง 20% โดยเฉพาะไผ่บงหวานไผ่ท้องถิ่นของจังหวัดเลย ที่ได้มีการคัดสายพันธุ์โดยคุณเปียวรรณบดี รักษา จนสำเร็จเป็นไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งรสชาติหน่อมีความโดดเด่นจากหน่อไม้พันธุ์อื่นๆ ตรงที่มีความหวานกรอบ กินสดได้ เอาไปนึ่ง หรือต้มก็มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวโพด เรียกได้ว่าลบคำบอก
เล่าที่ว่ากินหน่อไม้แล้วปวดตามข้อ หัวเข่า ไปได้เลยเพราะไผ่ชนิดนี้ไม่มีไซยาไนด์ (ส่วนที่มี
รสขม) จึงสามารถกินสดได้แบบไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
Share:

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้ง

การให้น้ำไผ่กิมซุ่ง 

      

        หากเกษตรกรปลูกไผ่ในฤดูฝน  แทบจะไม่ต้องให้น้ำเลย  จะให้ก็ครั้งแรกที่ปลูกให้รดน้ำทันทีให้ชุ่มเพื่อให้ดินจับกันแน่น  รากไผ่จะดูดน้ำได้ดินจะต้องจับกันแน่นกับรากเพื่อให้รากไผ่ดูดน้ำแบบระบบดูดชึม(ออสโมซิส)  ถ้าไม่รดน้ำทันที  ถ้ามีแดดออกต้นไผ่จะเหี่ยว  ฝนจะตกหรือไม่ตกต้องรดน้ำครั้งแรกที่ปลูกไว้ก่อน  ตรงนี้สำคัญ  เกษตรกรหลายคนไม่เข้าใจ  คิดว่าปลูกในฤดฝนดินยังมีความชื้นอยู่ก็ไม่รดน้ำ  หากฝนไม่ตกในวันที่ปลูกแบบหนักๆ  ไผ่จะตายไปหลายต้นทีเดียว   ส่วนเกษตรกรที่เลือกปลูกไผ่ในฤดูแล้งเพราะที่ดินเป็นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องหาวิธีการให้น้ำ  ถ้าปลูกใหม่ยังไม่ต้องลงทุนมากก็ใช้น้ำเข้าร่องตักรดไปก่อนได้  หรือถ้าปลูกไม่มากก็ใช้สายยางรดเป็นต้นๆไปก่อนได้  แต่เมื่อไม่ว่าจะปลูกหน้าฝนหรือหน้าแล้งพอปลูกไปได้  8 เดือนไผ่กิมซุ่งพร้อมจะให้หน่อ  ก็จำเป็นต้องลงทุนเรื่องระบบน้ำ  เพราะกำลังจะมีรายได้จากการจำหน่ายหน่อ  และไผ่กิมซุ่งต้องการน้ำมากในการให้หน่อ
          ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นที่ต่ำเช่นที่นา  เกษตรกรอาจจะใช้การสูบน้ำเข้าขังท่วมพอประมาณโดยให้ทั่วๆทุกแปลงไผ่จากนั้นก็หยุดให้น้ำ  ปล่อยให้แห้งภายใน  1  วัน  วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลดี  เพราะต้นไผ่ได้น้ำเต็มที่จะทำให้หน่อดกมาก  และความชื้นอยู่ได้นานหลายวัน  พอเห็นว่าดินเริ่มแห้งก็สูบน้ำให้ใหม่  ราวๆประมาณ  10-15  วันก็สูบน้ำได้  แต่ในฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำอาศัยน้ำฝนแต่หน่อก็ราคาถูกมากเหลืออยู่ที่กก.ละ  3-6  บาท
          ถ้าพื้นที่ปลูกไผ่เป็นที่ลาดเท  ที่ดอน พื้นที่ไม่เท่ากัน  ก็จำเป็นต้องให้น้ำแบบสปิงเกอร์  โดยใช้สายพีอี  ดีที่สุดใช้สายพีอีแบบ  25  มิลลิเมตร  พื้นที่  1  ไร่จะใช้สายพีอี  2  ม้วน (  400 เมตร) ต่อกับท่อพีวีซี  2  นิ้วซึ่งเป็นท่อเมนต์ใช้ข้อต่อทดและวาวน้ำ  และใช้ปั้มน้ำ  2  นิ้วมอเตอร์  2-3  แรงม้า  แถวของไผ่ที่ใช้สายพีอีไม่ควรจะเกิน  50  เมตรเพราะน้ำจะแรงจากต้นสายถึงปลายสาย  ต้นไผ่  1  กอถ้าช่วงที่ให้หน่อแล้วควรจะเจาะรูใต้กอไผ่ราวๆ  2-3  รูน้ำถึงจะพอที่จะทำให้หน่อออกดกและต่อเนื่อง  ไผ่กิมซุ่งกินน้ำเก่งมาก  ถ้าให้น้ำไม่พอหน่อจะไม่ค่อยออกในช่วงฤดูแล้ง   การให้น้ำในช่วงฤดูแล้งคือเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน  จะให้ทุกๆ  3 วัน ครั้งละ  1-2  ชั่วโมงต่อแถวของไผ่ที่ให้  สังเกตุดูว่าจะให้น้ำนานเท่าไหร่ก็หาเหล็กเส้น 2  หุนแทงลงดินรอบๆกอไผ่ที่น้ำซึงไปถึง  ถ้าแทงไม่เข้าก็ให้น้ำต่อไปอีก  ถ้าแทงเข้าไป  10  เซนติเมตรก็ยังไม่พอ  จะต้องแทงเหล็กให้เข้าดินลึกราวๆ  25  เซนติเมตรถึงจะชุ่ม  เกษตรกรหลายคนบอกให้น้ำทุกวัน  แต่ไม่เคยเอาเหล็กทดสอบแทงลงดินดู  คิดว่าให้ทุกวันแล้วต้นไผ่พอกิน  สายพีอีเป็นสายเล็กๆ  ถ้าใช้เวลาน้อยน้ำที่ให้ไผ่จะไม่พอให้ไผ่กิน  หน่อจะไม่ออก  หรือออกน้อยในช่วงฤดูแล้งและเป็นช่วงที่หน่อมีราคาแพงเกษตรกรอยากให้หน่อออกมากๆ  แต่น้ำให้ไม่มากพอหน่อก็ออกน้อย    แต่พอฤดูฝนมาถึงก็อาศัยน้ำฝนต่อได้เลย  แต่หน่อก็จะเริ่มถูกลงเพราะมีหน่อไม้อื่นๆออกมามากเพราะได้น้ำฝนเหมือนกัน
Share:
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Recent Posts

Unordered List

Theme Support